เป้าหมายหลัก
ปัญหา
จุดประสงค์
ภายใต้แนวคิด “การอนุรักษ์ผ่านการใช้งาน” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนาร่วมกับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ และฝ่ายบริหารของเมือง ด้วยวิธีนี้ CHARMS มีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และช่วยลดการปล่อย CO2 ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง
จากการสำรวจโดยทีมงานในโครงการแสดงพบว่า คนที่อาศัยอยู่ในบ้านไม้เก่าแก่โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวรู้สึกไม่สบายใจ อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูง คุณภาพอากาศไม่ดี หรือความสะดวกสบายทางความร้อนที่ไม่เพียงพอ ปัญหานี้เกิดจากการที่คนรุ่นใหม่ต้องการความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยภายในอาคารแตกต่างจากรุ่นพ่อแม่ อีกทั้งระบบระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้านไม้มีข้อจำกัด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในท้องถิ่นและมลพิษทางอากาศที่สูง ผู้อยู่อาศัยจึงต้องลงทุนมากขึ้นในระบบระบายความร้อนทางเทคนิค ซึ่งนำไปสู่การใช้พลังงานที่สูงขึ้นและเกาะความร้อนในเมือง (urban heat islands) ซึ่งการแก้ไขสถานการณ์นี้จากการริเริ่มของเทศบาลในอดีตไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องมาจากการมีส่วนร่วมที่ไม่เพียงพอของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ และการทำงานร่วมกันที่ต่ำ

CHARMS พัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยภายในบ้านไม้เก่าแก่ในเมืองเชียงใหม่


เป้าหมายของโครงการ คือ การปรับปรุงสภาพการอยู่อาศัยและสุขภาพของผู้คนในชุมชนให้ดีขึ้น ร่วมกับการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภายใต้การบูรณาการกระบวนการทางเทคนิคต่างๆ ร่วมกับนวัตกรรมทางสังคม จากจุดมุ่งหมายดังกล่าว แนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงถูกพัฒนาขึ้นสำหรับบ้านไม้เก่าแก่ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง และกำลังเตรียมการนำไปใช้ การมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดของผู้คนในชุมชนในระหว่างการพัฒนาแนวคิดและการดำเนินการ เป็นการรับรองผลการดำเนินการของโครงการว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้คนในชุมชน และส่งผลให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จในระยะยาว

©CMU - SPP
กระบวนการดำเนินงาน
CHARMS เอาชนะปัญหาที่ซับซ้อนทางสังคมและนิเวศวิทยา ด้วยสหวิทยาการระดับสูง โดยใช้วิธีการวิจัยที่ถูกบูรณาการในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย การประเมินความเหมาะสมของแนวทางแก้ไขที่เสนอดำเนินการโดยคณะกรรมการท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ตลอดจนผู้มีอำนาจตัดสินใจของเทศบาลและภาคประชาสังคม นอกจากนี้สำนักงานท้องถิ่นยังช่วยเสริมสร้างความร่วมมืออย่างถาวร ทีมงาน CHARMS ใช้วิธีการแบบผสมผสานและระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยในชุมชนเกี่ยวกับการใช้บ้านไม้อันเก่าแก่ต่อไปในอนาคต และเพื่อเปลี่ยนความคิดเห็นดังกล่าวให้เป็นแนวคิดการแก้ปัญหาได้รับการยอมรับและมีประสิทธิภาพในท้องถิ่น
วิธีการแก้ปัญหาที่คาดหวัง
©CMU - SPP
วิธีการแก้ปัญหาที่คาดหวัง
CHARMS ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ การพัฒนาการวางผังเมือง การก่อสร้าง และ IT-based solutions เพื่อปรับปรุงภายนอกอาคารและสภาพอากาศในท้องถิ่น ปรับระบบทำความเย็นตามธรรมชาติแบบดั้งเดิม และพัฒนาการประสานงานระหว่างผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และฝ่ายบริหารของเมือง อีกทั้งนวัตกรรมทางสังคมเพื่อใช้อาคารประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนนี้จะจัดทำเป็นแคตตาล็อก (catalogue) และเผยแพร่เป็นกรณีศึกษาต่อไป การบูรณาการและการประเมินแนวทางการแก้ปัญหาทางเทคนิคและสังคมจะถูกดำเนินการในขั้นตอนที่สองของโครงการ โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานท้องถิ่น ในขั้นตอนที่สาม ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายนั้น การดำเนินการตามกระบวนการแบบบูรณาการที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น จะถูกนำไปใช้จริงอย่างเป็นระบบ โดยกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการนี้ เกิดขึ้นผ่านการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศในท้องถิ่น การวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคม และดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมเพิ่มเติมในด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมที่ยั่งยืน
กระบวนการดำเนินงาน
ประเทศเยอรมนี ประเทศไทย
IIoT Solutions

การวิเคราะห์ข้อมูล

OCTOBUS เป็นแพลตฟอร์ม IoT ของอุตสาหกรรมที่ทำงานเป็น Software-as-a-Service (SaaS) หรือ On-Premise ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเครื่องจักรและเซ็นเซอร์จาก PLC ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Edge แปลงและส่งข้อมูลไปยัง Cloud OCTOBUS ทำงานเป็นระบบข้อมูลในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์, ฟาร์มสัตว์น้ำ, อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทั้งหมดที่สามารถรวบรวมข้อมูลจาก PLC นำเสนอวิธีการสร้างภาพข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น แดชบอร์ดแบบไดนามิก และมุมมองแบบสามมิติ เอ็นจิ้นเหตุการณ์สำหรับการแจ้งเตือนและการเปิดใช้งานกระบวนการ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์


สามารถใช้ได้เช่นกันสำหรับแพลตฟอร์มมือถือ ดังนั้นข้อมูลจึงพร้อมใช้งานทุกที่ทุกเวลา สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Project Coordination Germany

Henrik Beermann

Fraunhofer Center for International Management and Knowledge Economy IMW
Neumarkt 9, 04109 Leipzig, Germany

+49 341 231039 145
henrik.beermann@imw.fraunhofer.de

Project Coordination Thailand

Dr. Warathida Chaiyapha

Chiang Mai University
School of Public Policy (SPP)
239 Huay Kaew Road, Muang District, Chiang Mai 50200, Thailand

+66 98 815 3444
warathida.c@cmu.ac.th